เขียนและเรียบเรียงโดย : นายบุญชัย ลิ้มสุขศรีกุล
สมาคมโลหะไทยได้ก่อตั้งและดำเนินการมาจวบจนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลาอันยาวนาน ถึง ๗๐ ปีแล้ว ปัจจุบันสมาคมโลหะไทย ประกอบไปด้วยคณะกรรมการและสมาชิกผู้ค้า ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์เหล็ก โลหะ และเครื่องเหล็กต่างๆ มากกว่า 240 ราย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น จึงนำไปสู่การจ้างงานสร้างรายได้เข้าประเทศและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของ ประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
สมาคม โลหะไทย เดิมมีชื่อเรียกว่า “สมาคมโง่วกิมแห่งประเทศไทย” จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยนายเผด็จ สีห์โสภณ บริษัท สีห์โสภณพานิช จำกัด (ฮวดเส็ง) เป็นประธานกรรมการ และนายเว้ง แซ่โอ้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด เง็กเซ่งเชียง เป็นรองประธาน กิจกรรมต่างๆ ของสังคมคือ การบริจาคเงินทองซื้อข้าวสารช่วยเหลือพี่น้องชาวจีนแถบแต้จิ๋ว การจัดงานเฉลิมฉลองวันสันติภาพช่วยค่าใช้จ่ายให้แก่กองรักษาความสงบไทย-จีน การต้อนรับคณะเอกอัครราชทูตจากสาธารณรัฐจีน เป็นต้น ต่อมานายเลี้ยง นวพันธ์ สำนักกฎหมายนวธรรม ได้ช่วยจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๙ จากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยมีที่ทำการอยู่ ณ เลขที่ ๖๕๙ ชั้น ๓ อาคารวิสุทธิผล ข้างวัดไตรมิตร ถนนเจริญกรุง ตำบลและอำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร ฯพณฯ พระยาพหลพลพยุหเสนาและท่านเอกอัคร
ราชทูตจากสาธารณรัฐจีน เป็นประธานประกอบพิธีเปิดป้ายสมาคมในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๐ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ที่ถนนเจริญกรุง สามแยกเต็มไปด้วยผู้คนที่พากันมาชุมนุม
เพื่อชื่นชมยินดีต่อสมาคม พิธีเปิดป้ายได้จบลงด้วยเสียงตบมืออันกึกก้อง และตั้งแต่นั้นมาสมาคมก็ได้ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับสมาคมต่างๆ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อประเทศชาติอย่างเข็มแข็งจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ สมาคมได้จดทะเบียนตามกฎประกาศใหม่ของรัฐบาล คือ “พ.ร.บ.สมาคมหอการค้าและสมาคมการค้า พ.ศ. ๒๕๐๙” และสมาคมโง่วกิมแห่งประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมโลหะไทย” และตั้งแต่นั้นมาคณะกรรมการสมาคม สมัยที่ ๑๙ จึงถูกเรียกว่า คณะกรรมการสมัยที่ ๑
เมื่อ สมัยที่ ๒ นายจื้อแจ๋ แซ่เนี๊ย เลขานุการสมาคม ได้จัดตั้งสโมสรของสมาคมขึ้น มีวงไพ่นกกระจอก กระดานหมากรุก เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเปิดสอนภาษาจีนกลางภาคค่ำ เพื่อให้สมาชิกได้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องกิจการค้า ช่วงเวลานั้นอุตสาหกรรมไทยยังล้าหลังมาก ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น ขณะเดียวกันสาธารณรัฐจีนซึ่งถูกญี่ปุ่นยึดครอง มีรากฐานอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า มีเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองและมีสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศไทยเป็นอย่างดี การไปมาหาสู่สะดวก จึงมีพ่อค้าและคณะราชการของสาธารณรัฐจีนเดินทางมาประเทศไทยเพื่อติดต่อการ ค้ามากมาย โดยเฉพาะพ่อค้าโลหะและเครื่องเหล็ก สมาคมโลหะไทยจึงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนข่าวสารต่างๆ ในช่วงเวลา ๓๐ ปีแรกนั้น สมาคมมีนายก ๗ ท่าน คือ นายเผด็จ สีห์โสภณ, นายนิยม เหล่าบุญมี, นายเว้ง แซ่โอ้ว, นายกำธร วิสุทธิผล, ดร.ถาวร พรประภา,
นายสินธุ์ พรประภา, นายจรูญ จันทรัช, ดร.ไพโรจน์ พรประภา ซึ่งท่านทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา เสียสละทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์ ไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก ได้สร้างผลงานไว้มากมาย ขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณอย่างสูงและขอรำลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย
ปี ๒๕๑๕ สมัยที่ ๓ นายจรูญ จันทรัช นายกสมาคม และกรรมการทุกท่านได้กรุณาบริจาคเงิน ทั้งสิ้นห้าแสนกว่าบาท จัดซื้ออาคารพาณิชย์ ๓ คูหา ที่ศูนย์การค้าวรรัตน์ เพื่อเป็นที่ตั้งของสมาคม และในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙ คณะกรรมการสมาคมได้จัดให้มีพิธีทำบุญเปิดใช้อาคารสำนักงานแห่งใหม่นี้ และยังคงเป็นที่ทำการสมาคมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ปี ๒๕๓๓ สมัยที่ ๑๒ นายประสาน พสุภา นายกสมาคม และกรรมการทุกท่านได้บริจาคเงินรวมสามล้านหกแสนบาท เพื่อเป็นเงินกองทุนฝากธนาคารเพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของ สมาคม ปี ๒๕๓๕ รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายแก้ไขประมวลรัษฎากร (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) พ่อค้าวาณิชทั้งหลายไม่ค่อยเข้าใจ ทำให้ลำบากในการที่จะปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง นายประสาน พสุภา จึงได้จัดงานสัมมนาเชิญเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรมาชี้แจ้งให้ความรู้และคำ แนะนำเพื่อให้สมาชิกทั้งหลายได้เข้าใจในทางปฏิบัติ มีสมาชิกเข้าร่วมงานจำนวนกว่า ๔๐๐ คน
ปี ๒๕๓๗ สมัยที่ ๑๔ นายสุนทร จงเสถียร นายกสมาคม และคณะกรรมการทุกท่าน ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดทำ “หนังสืออนุสรณ์ ๕๐ ปี สมาคมโลหะไทย” เพื่อเป็นเกียรติประวัติถึงความสำเร็จของสมาคมและเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ ให้กับชนรุ่นหลัง นอกจากนี้ยังได้ และจัดงานเลี้ยงฉลองสมาคมโลหะไทยครบรอบ ๕๐ ปี ครั้งยิ่งใหญ่ มีสมาชิกเข้าร่วมงานจำนวนกว่า ๖๐๐ คน มีการแสดง การจับรางวัล สร้างความปรองดอง ปราบปลื้มใจ และความสุขมายังสมาชิกและครอบครัวสมาชิกทุกท่าน เป็นจุดประกายแนวคิดที่นายกสมาคมและคณะกรรมการสมัยปัจจุบันได้นำเอามาเป็น ตัวอย่างปฎิบัติในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปีนี้ปี ๒๕๔๓ สมัยที่ ๑๗ นายสมบูรณ์ สุริยบูรพบูล นายกสมาคม ได้สร้างชื่อเสียงและเครือข่ายให้กับสมาคมโลหะไทยเป็นอย่างมาก โดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์หอการค้าไทย-จีน และสมาคมธุรกิจต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ สังคม และวัฒนธรรม ดังเช่น การต้อนรับคณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะคณะ รัฐบาลที่มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้สมาคมโลหะไทยยังเข้าร่วมการประชุมประจำเดือนกับสมาพันธ์หอการค้า ไทย-จีน และสมาคมธุรกิจต่างๆ เพื่อร่วมกำหนดนโยบายการทำกิจกรรมต่างๆ และเป็นการกระชับความสัมพันธไมตรีให้แนบแน่นขึ้น เป็นวัฒนธรรมที่คณะกรรมการสมาคมโลหะไทยในสมัยต่อมาได้นำมาปฎิบัติต่อกันมาจน ถึงปัจจุบันนี้
วัน ที่ ๒๗ มกราคม ปี ๒๕๔๘ สมัยที่ ๑๙ นายจรรยง ไพศาลศรีศิลป์ นายกสมาคมและคณะกรรมการสมาคมโลหะไทยได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูล ละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทูลเกล้าถวายเงินในนามสมาคมโลหะไทยจำนวนหนึ่งล้านบาทเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือ ผู้ประสับภัยน้ำท่วมภาคใต้ครั้งใหญ่ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาและในปีเดียวกัน นายจรรยง ไพศาลศรีศิลป์ นายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคมโลหะไทยได้มีการจัดงานเลี้ยงรับรองต้อนรับคณะต่างๆ ของสมาคมโลหะมาเลเซีย และสมาคมโลหะสาธารณรัฐจีนที่เดินทางมาเยือนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธไมตรีให้ แนบแน่นหลายต่อหลายครั้ง และประสบผลสำเร็จอย่างสูง อันเป็นจุดเริ่มต้นให้สมาคมโลหะไทยได้ขยายเครือข่ายสร้างสัมพันธมิตรอย่าง เป็นทางการกับสมาคมโลหะต่างๆในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคในเวลาต่อมานอกจากนี้ กิจกรรมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยก็ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นปี ๒๕๔๙ สมาคมโลหะไทย บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นจำนวนเงิน ๗๕๐,๐๐๐ บาท ให้กับสภากาชาดไทยปี ๒๕๕๑ นายจรรยง ไพศาลศรีศิลป์ นายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคมโลหะไทย ร่วมกันบริจาคเงิน ๒,๖๑๐,๐๐๐ บาท มอบให้กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยเพื่อสมทบทุน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดของมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ปี ๒๕๕๒ นายจรรยง ไพศาลศรีศิลป์ นายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคมโลหะไทย นำคณะตัวแทนสมาคมโลหะไทยเดินทางไปยังไต้หวันเพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้า เหล็กและเครื่องเหล็กของสมาคมโลหะไทเป และเข้าร่วมประชุมกับตัวแทนคณะของสมาคมโลหะไทย สมาคมโลหะฮ่องกง สมาคมโลหะไต้หวัน สมาคมโลหะมาเลเซีย สมาคมโลหะสิงคโปร์ สมาคมโลหะฟิลิปปินส์ รวมเป็น 6 สมาคมโลหะ เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี และกำหนดนโยบายแนวทางการร่วมมือระหว่างสมาคมโลหะต่างๆ ของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคปี ๒๕๕๓ สมัยที่ ๒๒ นายอภิสิทธิ์ โลหะนาคะกุล นายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคมโลหะไทย ได้สานต่อนโยบายต่างประเทศเป็นอย่างดีและประสบความสำเร็จอย่างสูง มีการนำคณะตัวแทนเดินทางเข้าร่วมงานเลี้ยงและงานประชุมของสมาคมโลหะฮ่องกง สมาคมโลหะมาเลเซีย และสมาคมโลหะสิงคโปร์ อย่างต่อเนื่องตลอดมา ดังเช่น งานประชุมสมาพันธ์สมาคมโลหะเอเซียแปซิฟิค ครั้งที่ ๒ ที่สิงคโปร์ และครั้งที่ ๓ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย งานเลี้ยงครบรอบ ๘๐ ปี สมาคมโลหะสิงคโปร์ เป็นต้น ปี ๒๕๕๕ สมัยที่ ๒๓ วันที่ ๑๐ ตุลาคม เวลา ๐๙.๐๐ น. นายอภิสิทธิ์ โลหะนาคะกุล นายกสมาคมและคณะกรรมการสมาคมโลหะไทยได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูล ละอองพระบาทสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทูลเกล้าถวายเงินในนามสมาคมโลหะไทยจำนวนหนึ่งล้านบาทเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือ ผู้ประสับภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ปี ๒๕๕๘ สมัยที่ ๒๔ นายอภิสิทธิ์ โลหะนาคะกุล นายกสมาคม และคณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน ได้วางแผนจัดทำ “หนังสืออนุสรณ์ ๗๐ ปี สมาคมโลหะไทย” จัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลองสมาคมโลหะไทยครบรอบ ๗๐ ปี และเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสมาพันธ์สมาคมโลหะเอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ ๔ โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมและงานเลี้ยงฉลอง ซี่งประกอบไปด้วยสมาชิกสมาคมโลหะจากนานาประเทศเวลา ๗๐ ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความอดทน ความมุมานะบากบั่น การต่อสู้ ความพากเพียร การก่อร่างสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบจนกระทั่งสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจ การค้าของชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้มาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยพึ่งพิงพระบรม โพธิสมภารใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่นสมาคมโลหะไทยและสมาชิกทุกท่าน เป็นต้น
Copyright SIAM METAL ASSOCIATION |